image

หลายคนคงเจอกับปัญหานี้บ่อยๆ เรื่องของการวัดไซส์ของรองเท้า และเวลาเลือกไซส์เดิมทีไรไม่เคยพอดีกับเท้าสักที วันนี้มาเราแชร์วิธีการซื้อรองเท้าใหม่อย่างไรให้ถูกไซส์กันครับ

ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนนะครับว่าเท้าของคุณ ขนาดความกว้างและความยาวเท่าไหร่ โดยใช้วิธีวัดขนาด Size รองเท้าด้วยตนเอง

  1. วัดขนาดเท้าด้วยการใช้กระดาษเปล่า โดยการนำเท้าเหยียบบนกระดาษและวาดรอบรูปเท้าตามขนาดจริงวัดไซส์เท้า
  2. เมื่อได้รูปเท้าของตัวเองมาแล้ว ให้เราตีเส้นกะระยะตามรูปตัวอย่างข้างต้น แล้ววัดความยาว และความกว้างของเท้า โดทำทั้งเท้าข้างซ้ายและข้างขวา จากนั้นจดไว้โดยใช้หน่วยเป็น เซ็นติเมตร (Centimetre)
  3. หักลบ ความคลาดเคลื่อนจากหัวปากกา ตอนลากเส้นรอบเท้า 3 / 16 นิ้ว หรือ ประมาณ 0.5 เซนติเมตร หลังจากนั้นให้บวกเพิ่ม 1 - 2 เซนติเมตร เพื่อความสบายในการสวมใส่
  4. เมื่อได้ค่ารวมแล้ว แล้วสามารถเทียบได้ตามตารางดังนี้ กับหน่วยวัดของ JP เป็น cm. ตามตารางด้านล่างนี้ได้เลยครับ (เช่นวัดเท้าจริงได้ 24.5 เซนติเมตร หักความคลาดเคลื่อน 0.5 เซนติเมตร
  5. และบวกด้วย 1.5 เซนติเมตร ในการเหลือเผื่อปลายเท้า ในกรณีที่เราชอบสวมใส่รองเท้าสบายๆ ไม่พอดีเกินไป เราก็จะต้องเลือกขนาด 25.5 (cm) หรือ 7.5 US หรือ 7 UK หรือ 40.5 EU นั่นเอง)
Men’s Shoe Sizes
USUKEuropeJapanese (cm)
5.553823.5
65.538.724
6.5639.324.5
76.54025
7.5740.525.5
87.54126
8.584226.5
98.542.527
9.594327.5
109.54428
10.51044.528.5
1110.54529
11.5114629.5
1211.546.530
12.5124730.5

 

Women’s Shoe Sizes
USUKEuropeJapanese (cm)
4.523421.5
52.53522
5.5335.522.5
63.53623
6.543723
74.537.523.5
7.553824
85.538.524
8.563924.5
96.539.525
9.574025.5
107.54126
10.584226.5
1194328
12104429
13114530

 

ที่มาของการวัดไซส์ และสูตรคำนวณหาเบอร์รองเท้า

เบอร์รองเท้า EUR

EU หรือ Paris Point หรือ (Continental) European Sizing คือ หน่วยเทียบไซส์รองเท้าที่ได้รับความนิยมไม่แพ้หน่วยอื่นๆ ส่วนใหญ่พบได้บ่อยในรองเท้าแบรนด์สัญชาติยุโรป แต่ยกเว้นประเทศอังกฤษ

(เพราะอังกฤษใช้ UK) ผู้ที่คิดค้นหน่วยเทียบไซส์รองเท้าประเภทนี้คือชาวฝรั่งเศส และนำมาใช้กันแพร่หลายในช่วงกลางศตวรรษที่ 19.

ที่มาของหน่วยวัด The Paris Point มาจากความยาวของรอยเย็บรองเท้าต่อ 1 ฝีเย็บ ที่มีความยาวประมาณ 6.6667 มิลลิเมตร โดยเบอร์รองเท้า EUR จะเริ่มต้นที่ 15 ฝีเย็บ และมีวิธีคำนวณดังนี้

สูตรคำนวณหาเบอร์รองเท้า EUR

ความยาวเท้าจริง (หน่วยมิลลิเมตร) + 15) / 6.6667

EUR SIZE      img

 

เบอร์รองเท้า UK

UK หรือ English Linear Measure คือระบบเทียบไซส์รองเท้าที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ภายใต้การคิดค้นของกษัตริย์เอ็ดเวิร์ดที่สอง ที่ทรงนำมาประยุกต์ใช้ในปี ค.ศ. 1324 เพื่อความสะดวกในการสั่งทำสั่งตัดรองเท้า

หน่วยวัด UK มาจากอะไร
กษัตริย์เอ็ดเวิร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษ ทรงบัญญัติให้ความยาวของเมล็ดข้าวบาร์เลย์ (Barleycorn) จำนวน 3 เมล็ดเรียงกัน จะมีขนาดเท่ากับความกว้างของนิ้วหัวแม่โป้งโดยเฉลี่ยของชายชาวอังกฤษ 1 นิ้ว ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งที่มาของหน่วยวัด “นิ้ว” (Inch) หรือประมาณ 25.4 มิลลิเมตรในปัจจุบันเช่นกัน

img

เบอร์รองเท้า UK จะขยับความยาวขึ้นเบอร์ละ 1 Barleycorn หรือประมาณ 8.46 มิลลิเมตร

แล้วครึ่งเบอร์ ( 0.5 )  มาจากไหน?
เบอร์รองเท้า UK แต่ละเบอร์จะมีความยาวเพิ่มขึ้นเบอร์ละ 1 Barleycorn หรือ 1/3 นิ้ว เทียบได้ประมาณ 8.46 มิลลิเมตร ซึ่งถือว่าแต่ละเบอร์มีความยาวห่างกันค่อนข้างเยอะ ในช่วงปี ค.ศ. 1880 จึงมีการเพิ่มขนาด “ครึ่งเบอร์” เพื่อให้ความยาวของเบอร์รองเท้า UK ขยับขึ้นทีละ 4.23 มิลลิเมตรแทน ซึ่งสามารถช่วยทำให้ไซส์ UK ละเอียดขึ้น

สูตรคำนวณหาเบอร์รองเท้า UK ผู้ใหญ่ (ผู้ชาย)
ความยาวเท้าจริง+ด้วยค่าเบี่ยงเบนและส่วนเผื่อปลายเท้า (หน่วยมิลลิเมตร) + 15) / 25.4) x 3) – 25

เบอร์รองเท้า US

US หรือ American Linear Measure เป็นระบบวัดขนาดรองเท้าที่ใช้ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ซึ่งกำหนดขึ้นมาใช้ในช่วงกลางยุคศตวรรษที่ 19 หน่วยตารางเทียบไซส์รองเท้ามาตรฐาน US อิงกับระบบวัดของ UK 

หน่วยวัด US มาจากอะไร
เบอร์รองเท้า US มีพื้นฐานการวัดมาจากเบอร์รองเท้า UK อีกทั้งมีการแบ่งเป็นเบอร์เด็กและเบอร์ผู้ใหญ่เช่นกัน แตกต่างกันเล็กน้อยตรงที่เบอร์รองเท้า US จะเริ่มต้นที่เบอร์ 1 US Adult Size มีความยาวพื้นในที่ 7 13/16 นิ้ว หรือราว 194.7 มิลลิเมตร จากนั้นเพิ่มทีละครึ่งไซส์ด้วยการเพิ่มความยาว 4.23 มิลลิเมตร ต่อครึ่งไซส์ ใกล้เคียงกับระบบ UK

สูตรคำนวณหาเบอร์รองเท้า US ผู้ใหญ่ (สำหรับผู้ชาย)
ความยาวเท้าจริง
+ด้วยค่าเบี่ยงเบนและส่วนเผื่อปลายเท้า (หน่วยมิลลิเมตร) + 15) / 25.4) x 3) – 24

img

ระบบวัดแบบ UK และ US มีวิธีวัดที่ใกล้เคียงกัน ทำให้มีหลักการง่าย ๆ ที่นิยมใช้กันก็คือการเอาเบอร์รองเท้า UK ของตัวเอง “บวก  1” ก็จะได้เป็นเบอร์รองเท้า US  ซึ่งจริงๆแล้วในการผลิตรองเท้าในแต่ละแบรนด์สินค้ามีความต่างกัน จึงไม่แนะนำให้ใช้วิธี +1 จาก Size US

 

เทียบเบอร์รองเท้า JP

JP หรือ Japanese Linear Measure คือ ระบบเทียบเบอร์รองเท้าของญี่ปุ่นโดยใช้หน่วยที่อิงกับหน่วยเซนติเมตร ทำให้เป็นหน่วยเทียบเบอร์รองเท้าที่ไม่ต้องแปลงค่าใดๆ

img

การเลือกไซส์ ต้องเลือกอย่างไร ต้องเผื่อเท่าไหร่ ?

รองเท้าเซฟตี้หรือรองเท้าทำงาน หรือรองเท้ากีฬาแต่ละรุ่นหรือยี่ห้อ ซึ่งขึ้นอยุ่กับการใช้ประโยชน์ โดยอาจมีการใช้หัวรองเท้าไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับดีไซน์ หัวรองเท้าเป็นแบบกว้าง ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องเผื่อ Size แต่ถ้าเป็นรองเท้าทรงสปอร์ต หัวรองเท้าส่วนใหญ่มักแคบ จึงควรเผื่อขนาดไว้อย่างน้อยครึ่ง - หนึ่ง Size และหากเป็นคนหน้าเท้ากว้าง ก็ควรจะเผื่อเบอร์รองเท้าฟเพิ่มขึ้นอีก